Project Citizen

Project Citizen
โครงการเพิ่มพูนความรู้ ส่งเสริมทักษะของนักเรียน และปลูกฝังความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง สามารถทำงานร่วมกันได้ ให้เกิดการมีส่วนร่วมอย่างชาญฉลาด ส่งเสริมเสรีภาพและภราดรภาพ ส่งเสริมสวัสดิการพื้นฐาน นำไปสู่การมีความรับผิดชอบที่มีการพัฒนาองค์ความรู้ และทักษะต่างๆ เพื่อจะทำให้ชุมชนดีขึ้น...ครูชาญวิทย์

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โครงการสร้างสำนึกพลเมือง


โครงการสร้างสำนึกพลเมือง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------

          โครงการสร้างสำนึกพลเมือง โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด สังกัด สพม.27 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้รับผิดชอบโครงการ  
         กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม

หลักการ
         1.เรียนรู้ประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านโครงการสร้างสำนึกพลเมือง
         2.มุ่งเน้นให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
         3.เน้นการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม
         4.ครูเป็นที่ปรึกษาและอำนวยความสะดวก ส่งเสริม และกระตุ้นให้ตระหนักในความรับผิดชอบ แสวงหาความรู้ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และทักษะการสื่อสารการแก้ปัญหาด้วยเหตุและผล
         5.บทบาทของนักเรียน ตระหนักในความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์
         1.นักเรียนเข้าใจและสามารถนำความรู้ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง วิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยนำไปสร้างสรรค์โครงงานสาธารณะประโยชน์
         2.นักเรียนมีความสามารถนำทักษะการศึกษาค้นคว้า การใช้เทคโนโลยี การบริโภคสื่อ และข้อมูลข่าวสาร การคิดวิเคราะห์วิจารณ์ การตัดสินใจ การสื่อสาร การจัดการและเผชิญความขัดแย้ง นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ
         3.มีเจตคติที่ดีต่อการดำรงชีพตามวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติให้ตนเป็นพลเมืองดี
         4.ครูนำศักยภาพของครูมืออาชีพไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพเป็นพลเมืองโลกที่ดี

จุดประสงค์โครงการ

         1.ช่วยในการเรียนรู้ว่าจะแสดงความคิดเห็นอย่างไร และตัดสินใจว่าหน่วยงานใดที่เหมาะสมที่สุด ในการจัดการกับปัญหาที่ได้ระบุไว้
         2.ทำอย่างไรที่จะโน้มน้าวให้มีการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายในการจัดการกับปัญหา
         3.จะต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยได้รับคำแนะนำจากครูและอาสาสมัคร เพื่อดำเนินงานให้บรรลุผลสำเร็จ

กรอบแนวคิดของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
         “ประชาธิปไตยโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน"

ขั้นตอนที่ 1 กำหนดปัญหาสาธารณของท้องถิ่น
         1.1 การสร้างความเข้าใจประเด็นปัญหา

ขั้นตอนที่ 2 การศึกษา ค้นคว้าข้อมูล
         2.1 ข้อมูลยืนยันสภาพปัญหา
         2.2 ข้อมูลแนวทางการแก้ไขปัญหา

ขั้นตอนที่ 3 การสังเคราะห์ความรู้
         3.1 การอธิบายปัญหา
         3.2 การตรวจสอบนโยบายทางเลือก
         3.3 การนำเสนอนโยบายสาธารณะ
         3.4 การจัดทำแผนปฏิบัติการ
         3.5 การจัดทำแฟ้มผลงาน (แผนผังผลงานและแฟ้มเอกสาร)

ขั้นตอนที่ 4 การสรุปและประเมินผลงาน
         4.1การนำเสนอแฟ้มผลงาน (โดยวาจาและเอกสาร)
         4.2การสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้

บทบาทนักเรียน
         ตระหนักต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
         มีความรับผิดชอบ
         ใช้ทักษะในการเรียนรู้
         แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
         มีส่วนร่วมในกิจกรรม (ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติ ร่วมให้ข้อมูลย้อนกลับ)

บทบาทครู
         เป็นผู้อำนวยความสะดวก
         ส่งเสริมและกระตุ้นความรับผิดชอบ
         ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ทักษะ
         ประเมินทักษะและความก้าวหน้าการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้
         สร้างความรู้ ความเข้าใจ
         เกิดทักษะ
         เกิดเจตคติที่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น